ภาพสี

ชี้เป้า


เล่าสนุก

ครบทุกสิ่ง

ใช้ได้จริง..ตอนสอบ



“ถ้าเรามีเวลา 6 ช.ม.ในการตัดต้นไม้
เราจะใช้ 4 ช.ม.แรกไว้ลับขวาน”
อับราฮัม ลินคอล์น
ตอนไปสอบ
เราต้อง ดึงความรู้ออกมาแก้โจทย์ ในเวลาที่จำกัด น้องได้ฝึกสิ่งนี้กันมากแค่ไหนก่อนถึงวันสอบ?
ตอนเรียน..
เรามักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการ นั่งดู ฟัง และจดตาม ไม่ว่าจะเรียนเนื้อหา หรือครูพาทำโจทย์ ถึงแม้จะเข้าใจ คิดตามทัน แต่ยังไม่ใช่การ “ทำเองได้”
เพราะมันคือการ ใส่ความรู้เข้าสมอง ความรู้ที่จดมาคือความรู้ของคนอื่น เหมือนยืมมาใช้ อยู่ในสมองได้ไม่นาน
ทำไงให้ความรู้ติดสมองได้นาน?
ความรู้จะตกผลึกเป็นของคุณเองแล้วอยู่กับคุณยาวๆ เมื่อได้ฝึกคิดฝึกแก้ปัญหา ได้ลองผิดลองถูก (ก็คือตอนทำการบ้านนั่นแหละ) แต่ทำไมถึงเอาเรื่องสำคัญขนาดนี้มาโยนเป็น “การบ้าน” ล่ะ? ทำไมไม่ทำสิ่งนี้ให้เสร็จตั้งแต่ตอนเรียน?
โบนัส เข้าเรียนฟรี ด้วยเล่มนี้
ข้อสอบออกใหม่ทุกปี แม้จะใช้แก่นความรู้เดิม แต่จะพยายามถามในแบบที่ไม่ซ้ำกับที่เคยออก ประยุกต์ พลิกแพลง ไปเรื่อยๆ เพื่อวัดว่า “ผู้สอบจะแก้ปัญหาที่ไม่เคยเจอได้ไหม”
เราไม่อยากให้คุณเสียเวลาไปวิ่งตามข้อสอบ เพราะ ปรับระบบสอบมาหลายครั้ง มีการปรับหลักสูตรเป็นระยะ ไหนจะเปลี่ยนทีมออกข้อสอบ ข้อสอบก็เปลี่ยนไปจนวิ่งตามไม่ทัน นั่นคือกำลังมองที่เปลือก
แต่ก่อนข้อสอบจะออกเฉดสีส้มเน้นเยอะแต่ไม่ลงลึก แล้วหลังปี 40 มา..ก็เปลี่ยนมาเฉดเขียวจะออกลึกขึ้นแบบวัดกึ๋น พอปี 55 ก็เปลี่ยนมาเฉดเหลือง ข้อง่ายก็ง่ายเลย ถ้ายากก็ออกแนวซับซ้อนปราบเซียน แล้วปัจจุบันก็ปรับมาทางประยุกต์ พลิกแพลง

แต่ถ้าคุณรู้ให้ถึงแก่นก็ไม่ต้องเหนื่อยวิ่งตามข้อสอบ จะออกสอบแนวไหนมาก็คิดออก ได้คะแนน
มีความเข้าใจผิดว่า เรียนถึงแก่นจะต้องเหนื่อยเรียนอะไรที่ลึกกว่าเดิม แต่จริงๆแล้วกลับกันเลยครับ
หากเคยอ่านเนื้อหาแล้วรู้สึกว่าต้องจำเยอะ ขึ้นเรื่องใหม่ ลืมเรื่องเก่า อันนี้เป็นเรื่องปกติเลยครับ แต่ถ้าได้ลงถึงแก่น คุณจะรู้เหตุผล ที่มาที่ไป แบบไม่ต้องจำอะไรมาก เพราะเนื้อหาแต่ละส่วนมันเชื่อมโยงกันผ่านแก่น
เรียนเคมีกับครูกุ๊กได้ผลจริง สอบติดจริง


