โครงสร้างข้อสอบและ-5-ตัวอย่างข้อสอบ-a-level-วิชาเคมี

โครงสร้างข้อสอบและ 5 ตัวอย่างข้อสอบ A-Level วิชาเคมี

A-Level เคมี เป็นหนึ่งในวิชาสำคัญสำหรับนักเรียนมัธยมปลายสายวิทย์-คณิต ที่ต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำ การเข้าใจโครงสร้างข้อสอบ A-Level เคมี จะช่วยให้นักเรียนเตรียมตัวสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จึงรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างข้อสอบ A-Level เคมี มาอธิบายให้เข้าใจง่าย

โครงสร้างข้อสอบและ-5-ตัวอย่างข้อสอบ-a-level-วิชาเคมี
โครงสร้างข้อสอบและ 5 ตัวอย่างข้อสอบ A-Level วิชาเคมี 3

โครงสร้างข้อสอบ A-Level วิชาเคมี

สมบัติของธาตุและสารประกอบ (15 -17 ข้อ)

  1. อะตอมและสมบัติของธาตุ
  2. พันธะเคมี
  3. แก๊ส
  4. เคมีอินทรีย์
  5. พอลิเมอร์

สมการเคมีและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี (15 -17 ข้อ)

  1. ปริมาณสัมพันธ์
  2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
  3. สมดุลเคมี
  4. กรด–เบส
  5. เคมีไฟฟ้า

ทักษะในปฏิบัติการเคมีและการคำนวณปริมาณของสาร (2-4 ข้อ)

  1. ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
  2. โมล
  3. สารละลาย

ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

หมายเหตุ

  1. ข้อสอบบางข้อมีการบูรณาการระหว่างเนื้อหา
  2. ขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบ สามารถศึกษาได้จาก เอกสารตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 จาก เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

จำนวนข้อ

ปรนัย 5 ตัวเลือก / 75 คะแนน – 30 ข้อ

ระบายคำตอบที่เป็นตัวเลข / 25 คะแนน – 5 ข้อ

รวม 35 ข้อ

คะแนนเต็ม 100 คะแนน

ตัวอย่างข้อสอบ A-Level วิชาเคมี

ตัวอย่างที่ 1 รูปแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ

กำหนดพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 ถึง 8 (ในหน่วยเมกะจูลต่อโมล) ของธาตุสมมติ 4 ธาตุที่มีเลขอะตอม
ไม่เกิน 20 ซึ่งอยู่ในคาบเดียวกัน ดังนี้

ธาตุIE1IE2IE3IE4IE5IE6IE7IE8หมู่ที่
A1.02.33.44.67.08.527.131.7VIA
B1.32.33.85.26.59.411.033.6VIIA
C0.54.66.99.613.416.620.125.5IA
D0.71.57.710.613.618.021.725.7IIA

ข้อใดไม่ถูกต้อง

  1. ธาตุ C มีจำนวนอิเล็กตรอนน้อยที่สุด
  2. อะตอมของธาตุ B มีขนาดเล็กที่สุด
  3. ธาตุ D นำไฟฟ้าได้ดีกว่าธาตุ A
  4. ธาตุ C มี EN มากกว่าธาตุ D
  5. ธาตุ B มี EA มากกว่าธาตุ A

คำตอบที่ถูกต้องคือข้อ 4

ตัวอย่างที่ 2 รูปแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ

อินดิเคเตอร์ X และ Y มีช่วง pH การเปลี่ยนสีดังนี้

Indicatorช่วง pH ที่เปลี่ยนสีสีที่เปลี่ยน
X4.5 – 4.8ไม่มีสี – น้ำเงิน
Y2.5 – 3.5เหลือง – แดง

หยดอินดิเคเตอร์ทั้งสอง ชนิดละ 2 หยด ลงในสารละลาย HA 1.0 โมลาร์ ปริมาตร 100 มิลลิลิตร
เมื่อเติม NaOH 2.0 กรัม ลงในสารละลาย สารละลายจะเปลี่ยนจากสีใดเป็นสีใด

กำหนดให้ Ka ของ HA = 1.0 x 10-6

มวลต่อโมลของ NaOH เท่ากับ 40.0 กรัมต่อโมล
และอินดิเคเตอร์ทั้งสองชนิดไม่ทำปฏิกิริยากัน

ตัวเลือก

  1. ส้ม เป็น แดง
  2. ส้ม เป็น ม่วง
  3. ส้ม เป็น น้ำเงิน
  4. เหลือง เป็น แดง
  5. เหลือง เป็น ม่วง

คำตอบที่ถูกต้องคือข้อ 2

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ ทปอ. mytcas