ข้อสอบเคมี A Level ถามยากไหม

ข้อสอบเคมี A-Level ถามยากไหม?

ตอนที่ 1 โจทย์ถ่วงเวลา

A-Level 66 เคมี – EP.01 โจทย์ถ่วงเวลาเป็นยังไง?

ข้อสอบ A-Level ข้อนี้เป็นเรื่องแก๊ส สามารถแทนค่าในสูตรกฎการแพร่ก็จะหาคำตอบได้ แต่ทีมออกข้อสอบรู้ว่าการแทนค่าในสูตรนั้นไม่ยาก จึงให้ปรับโจทย์ให้มีสมการเคมีเข้ามาด้วยเพื่อวัดการใช้กฎทรงมวล (conservation of mass) เพิ่มขั้นตอนการคิดมวลโมเลกุลสารเพิ่มเข้ามาอีก และยังกำหนดตัวเลขที่ถ้าคิดคำนวณแบบเป๊ะๆ จะใช้เวลานาน

ถ้าหากสังเกตที่ตัวเลขในช๊อยส์สักนิด ดูว่าค่าตัวเลขห่างกันแค่ไหน ข้อสอบส่วนใหญ่แล้วตัวเลขแต่ละช๊อยส์จะห่างกันมากพอที่เราจะใช้การคิดคำนวณแบบประมาณค่าตัวเลขได้ และได้คำตอบเร็วขึ้น อย่างข้อนี้เราก็จะได้เวลาเพิ่มมา 15-20 วินาที ดูเหมือนไม่เยอะ แต่หากเรามีเทคนิคย่นเวลาแบบนี้หลายๆ ข้อล่ะ จะได้ได้เวลาเพิ่มมาเป็นนาทีๆ เลย ทำข้อสอบได้เพิ่มขึ้น 1-2 ข้อ ก็ช่วยเพิ่มคะแนนสอบเราได้ 3-5% แล้ว คุ้มไหมครับ

ตอนที่ 2 ทำไมถึงทำข้อสอบไม่ทันเวลา

A-Level 66 เคมี – EP.02 ทำไมถึงทำข้อสอบไม่ทันเวลา

ข้อสอบ A-Level ข้อนี้เป็นเรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ที่มีสมการเชิงซ้อน (ปฏิกิริยาต่อเนื่อง ผสม ปฏิกิริยาคู่ขนาน) โจทย์ให้สมการเป็นคำพูดมา เราต้องแปลงเป็นสมการเคมีเอง แล้วดุลสมการแบบต้องระวังสารตัวร่วมใน 2 สมการด้วย จากนั้นจึงคำนวณเทียบหามวลของสารตั้งต้นบางตัวโดยอาศัยเลขดุลสมการ ทีมออกข้อสอบรู้อยู่แล้วว่าขั้นตอนการคิดที่นิยมใช้กันคือ เปลี่ยนหน่วยมวลเป็นโมล แล้วเทียบปริมาณสารผ่านหน่วยโมล จากนั้นจึงค่อยแปลงกลับมาเป็นหน่วยกรัมอีกครั้ง ก็จะได้คำตอบ จริงๆระดับนี้ก็เพียงพอที่จะวัดความรู้ผู้เข้าสอบได้แล้ว

แต่ถ้าให้มวลเป็นกรัม ถามเป็นกรัม ก็จะไม่ได้วัดไหวพริบผู้เข้าสอบ เลยถ่วงเวลาเสียหน่อย ให้มวลมาเป็นหน่วย “ตัน” แทน โดยเขียนมาเป็นแบบ “พันกิโลกรัม” ซึ่งข้อนี้ถ้าคิดด้วยขั้นตอนปกติทั่วไปก็กินเวลาพอสมควร เทคนิคในการแก้โจทย์แนวนี้ที่ใช้ได้บ่อยครั้งคือ เทียบผ่านมวลสารไปเลยตรงๆ ไม่ต้องอ้อมไปเทียบผ่านหน่วยโมล จะลดขั้นตอนการคิด และได้คำตอบเร็วขึ้น

ตอนที่ 3 วิธีคิดตัดตรงไปหาคำตอบ ทำยังไง

ตอนที่ 3 วิธีคิดตัดตรงไปหาคำตอบ ทำยังไง

A-Level 66 เคมี – EP.03 วิธีคิดตัดตรงไปหาคำตอบ ทำยังไง?

จากตอนที่ 2 น้องที่ยังไม่มั่นใจว่า การคิดคำนวณแบบเทียบผ่านมวลสารไปเลยตรงๆ ไม่ต้องอ้อมไปเทียบผ่านหน่วยโมล ซึ่งลดขั้นตอนการคิดและได้คำตอบเร็วขึ้นนั้นมันจะใช้ได้ตลอดเลยไหม คำตอบคือ ใช้ได้ครับ ถ้าใช้แล้วได้คำตอบเร็วกว่าก็ควรใช้ให้ชินไปเลย คลิปนี้ก็เป็นข้อหนึ่งที่ยืนยัน ว่าได้คำตอบเร็วกว่า

วิธีคิดที่ออกแบบมาเพื่อใช้สอนในห้องเรียน (เป้าหมายคือใช้สอนให้เข้าใจง่ายๆ) กับวิธีคิดที่เหมาะใช้ในห้องสอบ (เป้าหมายคือได้คำตอบเร็ว) มีจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน ดังนั้นการยึดติดกับวิธีคิดแบบที่เรียนมาในห้องเรียนทั้งการคิดคำนวณแบบตัวเลขเป๊ะๆ หรือคิดตามขั้นตอนในหนังสือเรียน แม้จะได้คำตอบ แต่อาจไม่ช่วยให้ทำคะแนนสอบได้สูง ด้วยเงื่อนไขเวลาที่จำกัดในห้องสอบ เห็นด้วยไหมครับ

ตอนที่ 4 กับดักในโจทย์ จุดลวงยอดฮิต

A-Level 66 เคมี – EP.04 กับดักในโจทย์ จุดลวงยอดฮิต

เคยเป็นไหมครับ คิดว่าทำได้ มั่นใจว่าทำถูก แต่คะแนนน้อยกว่าที่คิด นั่นเป็นเพราะว่าโจทย์ข้อสอบมันลวง มันหลอกเราได้เนียนมากจนเราไม่รู้ตัวว่าทำผิดด้วยซ้ำ ยกตัวอย่างข้อนี้เป็นเรื่องสมดุลเคมี เน้นที่การรบกวนสมดุล โดยมีเงื่อนไขบางอย่างที่เพิ่มเข้ามาแล้วทำให้การปรับตัวของสมดุลไม่เป็นไปตามที่เราคุ้นเคย จะเป็นอย่างไรนั้นดูกันในคลิปนี้

จะดีไหมครับถ้าน้องได้รู้จัก ได้เจอ จุดลวง กับดักทำนองนี้กันจนให้รู้เท่าทันก่อนไปสอบจริง โอกาสที่น้องพลาดท่าให้ข้อสอบเคมี A-Level แบบไม่รู้ตัวก็จะน้อยลงครับ