ตอนที่ 6 เจตนาของคนออกข้อสอบ
ตอนนี้จะมี 3 ส่วน – ทำยังไงเมื่อลังเลและวิธีสังเกต? – เคสตัวอย่างล่าสุด…
พูดถึงการเตรียมตัวสอบ สิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำกันคือะไรบ้างครับ
A. อ่านหนังสือ
B. ทำช็อตโน้ต
C. เรียนพิเศษ ติวเสริม
D. ฝึกทำโจทย์ ข้อสอบย้อนหลัง
สิ่งที่คนทำกันมากสุดคือ A รองลงมาคือ B กับ C ส่วน D มักตั้งใจจะทำหลังจากทำอันแรกๆเสร็จ คนที่ได้ทำข้อ D ได้มากพอจึงมีน้อยมาก คุณเป็นคนกลุ่มไหนครับ?
รูปนี้คือกราฟคะแนนเฉลี่ยคะแนนสอบสายวิทย์ที่ใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัย (10 ปีล่าสุด) คะแนนของทุกคนต้องอยู่ในแท่งใดแท่งหนึ่งในกราฟนี้ และคุณเลือกได้ครับว่าจะอยู่แท่งไหน ที่เราจะพูดกันต่อจากนี้คือ.. เลือกยังไง?
ลองขีดเส้นแบ่งเกณฑ์ปลอดภัยก่อน ที่ 60/100 ใครได้คะแนนเกินเส้นนี้มักได้เรียนในคณะที่ตัวเองต้องการ (ในกรอบสีเขียว) หากคุณต้องการอยู่ในกลุ่มสีเขียว คุณต้องไม่เป็นคนกลุ่มใหญ่ นั่นเท่ากับว่าสิ่งที่คุณทำระหว่างเตรียมตัวสอบต้องไม่ใช่สิ่งคนส่วนใหญ่ทำเช่นกัน
.
คนส่วนใหญ่ทำอะไรกันล่ะ?.. คนกลุ่ม 65% (28+37% ในกรอบแดง) ถือเป็น 2/3 ของผู้เข้าสอบ ได้คะแนนในช่วง 10-30 เต็มร้อยเท่านั้น ผลลัพธ์แบบนี้เกิดจากสาเหตุอะไร
.
ลองอ้างอิงจากกรวยการเรียนรู้ของสมอง (สรุปจากงานวิจัยหลายชิ้นในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาทั่วโลก)
.
การเรียน คือ การเอาความรู้เข้าสมอง วิธีที่ใช้กันมากคือ ดูครูทำ ฟังครูสอน แล้วจดตาม เรียกสั้นๆว่า “ดู-ฟัง-จด” เราใช้กันมาตลอดตั้งแต่ประถม (ประเทศเราใช้วิธีนี้กันมาเป็นร้อยๆปี)
.
ก็คือยอดกรวยตรงสีเขียวกับฟ้า ถ้าเรียนด้วยวิธี ดู-ฟัง-จด เนี่ยความรู้จะเก็บอยู่ในสมองได้ 10-30% ที่เหลือจะค่อยๆลืมไปใน 2 อาทิตย์ (คุ้นๆกับตัวเลข 10-30 นี้มั้ยครับ นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ)
.
เพราะอย่างนี้จึงต้องมีการบ้านให้ไปทำ เพื่อให้ความรู้มันติดสมองเพิ่มขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น.. พอเราขึ้น ม.6 ก็มักลืมของ ม.4 เกือบหมดอยู่ดี มีหลายคนต้องเรียนซ้ำอีกรอบ เพราะสาเหตุนี้แหละครับ ชม.เรียนเด็กไทยถึงสูงติดอันดับโลก แต่คุณภาพก็อย่างที่เราเห็น
.
ยังจำ A B C D ข้างบนได้มั้ยครับ ลองมาดูว่าแต่ละอย่างได้ผลกี่%
.
A, B เน้นอ่าน+ช็อตโน้ต จะเข้าสีเขียวยอดกรวย 10%
.
C เรียนพิเศษ/ติวเสริม ต้องดูว่าเวลาส่วนใหญ่ตอนเรียนใช้ไปกับ ฟัง ดูการสาธิต (เทคนิควิธีแก้โจทย์ของอาจารย์) จดตาม ถ้าใช่ ก็เข้าสีฟ้า-เหลือง 20-50%
.
D ฝึกทำโจทย์เอง คุณมาถูกทางครับ หากทำไปเปิดหนังสือไปจะเข้าสีส้ม (70%) ถ้าจับเวลาทำแบบไม่มีตัวช่วยก็เข้าสีแดง (90%) แต่ปัญหาของคนส่วนใหญ่คือ อาการเจอโจทย์แล้วไปไม่เป็น พอทำไม่ได้ก็กลับไปทำ A B C วนอยู่แบบนี้
.
ถึงตรงนี้ เห็นด้วยมั้ยครับว่าเราควรแม้คุณจะทำทุกข้อ แต่ถ้ามันไม่ถูกวิธี ความรู้จะติดสมองคุณได้ไม่คุ้มค่ากับความขยันที่คุณทุ่มเทลงไป
.
ขออนุญาตอธิบายผ่านคลิป 3 นาทีนี้
.
หลังจากดูคลิปข้างบนแล้ว คุณได้รู้วิธีการคร่าวๆแล้ว คราวนี้มาเรื่องสำคัญที่หลายคนมองข้าม
.
1.การจัดตารางเตรียมสอบ
.
จะแบ่งเป็น 2 แบบคือ เก็บทีละวิชาเช่น วิชาละ1-2 เดือน กับอีกแบบเก็บไปพร้อมๆกันหลายวิชา เช่นแบ่งแต่ละวันใน 1 ส้ปดาห์เก็บวิชาต่างๆได้ครบ
.
จากสถิติแล้วคนที่เก็บพร้อมกันหลายๆวิชาจะทำคะแนนได้ดีกว่า (คือคนที่เก็บทีละวิชาแล้วทำคะแนนได้สูงก็มีครับ แต่ถ้าเขาเก็บไปพร้อมกันหลายวิชาก็จะทำได้สูงกว่า) เพราะอะไร?
.
อย่างแรกเลยคือ ในวันสอบเราสอบวันนึงหลายวิชา การฝึกให้สมองเคยชินกับภาวะแบบนี้ย่อมได้เปรียบ คนที่เก็บไปทีละวิชา สมองจะล้ามากในวันสอบ คะแนนมักจะออกมาต่ำกว่าตอนฝึกจับเวลาที่บ้าน
.
อย่างที่สอง ถ้าเปรียบความรู้เป็นอาหารสมอง การเก็บหลายวิชาสลับกันไปสมองจะสดชื่นกว่า (แรกๆอาจจะเหนื่อย แต่สักพักก็จะชินครับ) ถ้าเรากินอาหารซ้ำๆกันหลายวันเราก็เบื่อ คล้ายๆกันครับ
.
2. เตรียมตัวคนละแบบกับตอนสอบจริง
ตอนสอบจริงต้องเจอแบบไหน ตอนฝึกอยู่บ้านก็ควรเตรียมตัวแบบนั้น เห็นด้วยมั้ยครับ
.
หลายคนชอบใช้เครื่องคิดเลขช่วยตอนทำโจทย์วิชาคำนวณ (อาจเพราะเวลาน้อย กลัวเตรียมตัวไม่ทัน) นี่เป็นการทำให้สมองต่อต้านการคำนวณ หากคุณบอกตัวเองว่าเดี๋ยวไว้ตอนสอบค่อยคิดจริง เอาจริงตอนสอบคุณจะคิดเลขได้ฝืดมากๆ และมักจะทำไม่ทันเวลา
.
อีกอย่างคือตอนสอบไม่มีตัวช่วย แต่ตอนฝึกก็เปิดหนังสือไปทำไป อันนี้ไม่ได้ห้าม แต่คุณต้องลองคิดเองก่อนจนสุดความสามารถก่อนโดยจับเวลาด้วยขั้นนี้อาจเขียนด้วยดินสอ สุดแล้วหรือครบเวลาแล้วค่อยเปิดหนังสือช่วย คราวนี้เขียนด้วยปากกา แยกสีกันให้ชัดจะได้นับคะแนนถูก ว่าตอนสอบจริงจะทำได้ประมาณไหน
.
แบบนี้จะเป็นการท้าทายตัวเอง สมองจะรู้สึกสนุก ตื่นตัว คุณจะเห็นการพัฒนาของตัวเองสัปดาห์ต่อสัปดาห์เลย
ตอนนี้จะมี 3 ส่วน – ทำยังไงเมื่อลังเลและวิธีสังเกต? – เคสตัวอย่างล่าสุด…
“การเขียนของคนเรา ต่อให้เขียนเร็วแค่ไหน.. ก็ไม่ไวไปกว่าความคิด” เห็นด้วยมั๊ยครับ มีหลายครั้งที่เรามักจะเคยชินหรือยึดติดกับรูปแบบการเขียน ยกตัวอย่าง …
สมมติว่ามีเวลาในการสอบวิชาหนึ่ง 90 นาที ถ้าหักเวลาที่ต้องเขียนชื่อกับฝนกระดาษคำตอบไปราวๆ 5-10 นาที เวลาที่เหลือ…
ปกติแล้วข้อสอบที่ใช้ในการสอบระดับประเทศส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานอันหนึ่งคือการบาลานซ์ช็อยส์ ถ้าข้อสอบมี 40 ข้อ แบบ 5 ตัวเลือก…
เทคนิคที่ช่วยให้น้องทำคะแนนสอบได้สูงขึ้นได้แบบทันที คือการบริหารเวลาในห้องสอบครับ แนะนำให้ฝึกกันให้จินตั้งแต่อยู่บ้านเลย โดยปกติแล้วตอนฝึกทำข้อสอบเองที่บ้าน น้องๆควรกำหนดเวลาที่ทำให้เท่าๆกับตอนสอบจริงด้วย โดยทั่วไปแล้วเมื่อเริ่มจับเวลา…
ตอนนี้ใกล้สอบเข้ามหาลัยมากๆแล้ว น้องๆจะเริ่มทยอยฝึกทำข้อสอบย้อนหลังกัน (หาได้ในโลกโซเชียลที่คนเขาแชร์ๆกัน) คนที่หาตัวข้อสอบมาได้แล้ว บางคนก็ทำเรียงตามเลขปีไปเลย สำหรับน้องที่ยังไม่รู้ว่าจะทำปีไหนก่อนดี ครูมีทริคง่ายๆมาบอก…