ตอนที่ 3 ทริคได้คะแนนเพิ่มฟรี

ปกติแล้วข้อสอบที่ใช้ในการสอบระดับประเทศส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานอันหนึ่งคือการบาลานซ์ช็อยส์ ถ้าข้อสอบมี 40 ข้อ แบบ 5 ตัวเลือก (1 2 3 4 5) คำตอบที่ถูกต้องจะกระจายไปที่แต่ละช๊อยส์อย่างสม่ำเสมอ คืออย่างละ 8 ข้อ (8 × 5 = 40)   ที่เป็นแบบเพราะป้องกันไม่ให้คนที่เดามั่วข้อสอบแบบทิ้งดิ่งได้คะแนนสูงเกินไป ลองคิดดูว่า ถ้าคำตอบเทไปทางช๊อยส์ใดช๊อยส์หนี่งมากกว่าช๊อยส์อื่นๆ คนดวงดีเดาฝนช๊อยส์นั้นเยอะๆ ก็จะได้คะแนนสูงกว่าคนที่เดาช๊อยส์อื่นๆ ซึ่งไม่ยุติธรรมสำหรับคนที่เดามั่วเหมือนๆกัน เราอาศัยจุดนี้มาเป็นคะแนนฟรีได้ครับ ทำยังไง?   ยกตัวอย่าง ถ้าข้อสอบมี 25 ข้อ คำตอบก็มักจะกระจายไปที่แต่ละช๊อยส์ ช๊อยส์ละ 5 ข้อ (รูปบนสุด)   สมมติว่าเวลาสอบเหลืออยู่ 5 นาที ยังเหลือข้อที่เราทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำอยู่ 7 ข้อ (ดูรูปกลาง ข้อที่ยังไม่ทำคือ 1, 10, 18, 20, 21, 23…

ตอนที่ 2 กินลูกชิ้นก่อน

เทคนิคที่ช่วยให้น้องทำคะแนนสอบได้สูงขึ้นได้แบบทันที คือการบริหารเวลาในห้องสอบครับ แนะนำให้ฝึกกันให้จินตั้งแต่อยู่บ้านเลย โดยปกติแล้วตอนฝึกทำข้อสอบเองที่บ้าน น้องๆควรกำหนดเวลาที่ทำให้เท่าๆกับตอนสอบจริงด้วย   โดยทั่วไปแล้วเมื่อเริ่มจับเวลา คนส่วนใหญ่จะเริ่มทำข้อสอบจากข้อ 1 ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ข้อไหนก็ข้ามไปก่อน แบบนี้ข้อเสียคือ ถ้าเราทำข้อสอบไม่ทัน แล้วข้อง่ายๆหรือข้อที่เราถนัดอยู่ท้ายๆฉบับ เราก็จะพลาดคะแนนส่วนนั้นไปแบบน่าเสียดาย แต่เราจะไม่ทำแบบนั้นครับ   เทคนิคกินลูกชิ้นก่อน ให้น้องใช้เวลาประมาณ 1-3 นาทีแรกเปิดสแกนข้อสอบทั้งฉบับ คือดูแบบผ่านๆ น้องจะเห็นภาพรวมเลยว่าโจทย์ที่ง่าย หาคำตอบได้เร็ว หรือเป็นโจทย์เรื่องที่น้องถนัด อยู่ตรงไหนบ้าง โจทย์ข้อไหนที่ดูยากและน่าจะใช้เวลานานเราก็จะได้ระวังไว้ ไม่จมเวลาไปกับมัน   จากนั้นน้องก็เริ่มทำข้อที่ง่ายหรือข้อที่ถนัดก่อนเลย อาจจะอยู่ท้ายฉบับ กลางฉบับ หรือต้นฉบับก็ได้ ไล่เก็บให้ครบ ตั้งแต่ข้อง่าย ไปถึงปานกลาง ถ้าใช้เทคนิคนี้เมื่อเวลาหมดไปครึ่งหนึ่ง น้องมักจะทำข้อสอบได้เกินครึ่งฉบับแล้ว กำลังใจก็จะไม่แผ่ว สมองก็ยังไม่เหนื่อยล้ามาก เพราะยังไม่เจอของยากๆเลย   เคยเป็นมั้ยครับ ตอนยังทำข้อสอบเรียงข้อ แล้วดันไปเจอข้อแรกๆ ยากๆ ทำเอามึน สมองล้า เกิดความเครียดสะสม กำลังใจก็ฝ่อลง แบบนี้แม้ไปเจอข้อง่ายๆตอนท้ายๆ โอกาสทำพลาดก็สูงครับ เพราะเราท้อไปแล้ว ปัญหานี้จะหมดไปครับเมื่อน้องใช้เทคนิคนี้  …

ตอนที่ 1 ฝึกทำข้อสอบย้อนหลัง เรียงลำดับปียังไงดี

ตอนนี้ใกล้สอบเข้ามหาลัยมากๆแล้ว น้องๆจะเริ่มทยอยฝึกทำข้อสอบย้อนหลังกัน (หาได้ในโลกโซเชียลที่คนเขาแชร์ๆกัน) คนที่หาตัวข้อสอบมาได้แล้ว บางคนก็ทำเรียงตามเลขปีไปเลย สำหรับน้องที่ยังไม่รู้ว่าจะทำปีไหนก่อนดี ครูมีทริคง่ายๆมาบอก   ยกตัวอย่าง ข้อสอบเคมีวิชาสามัญ จะมีตั้งแต่ปี 55 จนถึง 63 รวม 9 ฉบับ วิธีที่ได้ผลคือให้ฝึกทำจากง่ายไปยากครับ แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าปีไหนยากหรือง่าย? ก็ให้ดูจากสถิติคะแนนเฉลี่ยแต่ละปี อย่างในเคมีครูรวบรวมมาให้แล้วเป็นรูปนี้   นี่คือสถิติจากผู้เข้าสอบวิชาเคมีทั้งหมด (หาได้จากกูเกิล แล้วเอามารวมใส่ตารางเองได้) สมมติเราดูที่ช่องคะแนน 50-70 จะเห็นว่า – ปี 58 มีคนทำคะแนนได้ในช่วงนี้มากสุดที่ 6,106 คน – ปี 56 มีคนทำคะแนนได้ในช่วงนี้น้อยสุดที่ 2,459 คน   เราจะสรุปคร่าวๆได้ว่าปี 58 ข้อสอบค่อนข้างง่าย และปี 56 ข้อสอบค่อยข้างยาก เมื่อเทียบกับปีอื่นๆ แบบนี้เราก็จัดเรียงข้อสอบไว้ฝึกทำจาก ง่ายไปยาก ได้ตามนี้คือ 58 → 57 →…