ตอนที่ 6 เจตนาของคนออกข้อสอบ

ตอนนี้จะมี 3 ส่วน – ทำยังไงเมื่อลังเลและวิธีสังเกต? – เคสตัวอย่างล่าสุด – สรุป     ทำยังไงเมื่อลังเลและวิธีสังเกต? เคยเป็นมั้ยครับที่ลังเลตอนทำข้อสอบ ทั้งๆที่คิดมาจนสุดทางแล้ว สิ่งที่ช่วยให้เราได้คะแนนคือดูเจตนาของคนออกข้อสอบให้ออก จับทางให้ได้ วิธีสังเกตมีอยู่ 1. ดูจากช๊อยส์ ยกตัวอย่างว่าโจทย์บรรยายข้อความมา 2-3 บรรทัด แล้วให้พิจารณาข้อความ ก ข ค ง ข้อใดถูก     1) ก เท่านั้น     2)  ก และ ข     3)  ข และ ค     4)  ข และ ง     5)  ค…

ตอนที่ 5 คิดเร็วกว่าเขียนเป็นร้อยเท่า

“การเขียนของคนเรา ต่อให้เขียนเร็วแค่ไหน.. ก็ไม่ไวไปกว่าความคิด” เห็นด้วยมั๊ยครับ มีหลายครั้งที่เรามักจะเคยชินหรือยึดติดกับรูปแบบการเขียน ยกตัวอย่าง   ในวิชาคำนวณที่มักต้องแทนค่าในสูตร สมมติเราจะแทนค่าในสมการ  PV = nRT  (ในเรื่องแก๊ส) คนส่วนใหญ่มักจะติดนิสัยเขียนสูตรก่อน (ใช้ไป 3-4 วินาที) แล้วถึงแทนค่าตัวเลขลงในบรรทัดที่สอง ถ้าบางสูตรยาวกว่านี้ก็ใช้ 6-8 วินาที ตีคร่าวๆ เขียนสูตรทีนึงก็เสียไป 5 วินาที ดูเหมือนจะไม่ได้มากมายอะไรใช่มั้ยครับ   แต่ถ้าเป็นข้อสอบทั้งฉบับ ถ้าเราต้องเสียเวลาเขียนสูตรทำนองนี้ 15-20 ครั้งล่ะ เราจะเสียเวลาไปนาทีกว่าๆ เวลาขนาดนี้ใช้ทำโจทย์ได้อีก 1-2 ข้อเลย เคยได้ยินมั้ยครับ “แค่ 1 คะแนนก็เปลี่ยนคณะที่เรียนได้” นี่ฉบับนึงทำโจทย์ได้เพิ่มขึ้น 1-2 ข้อ ถ้าต้องสอบวิชาคำนวณ 3-4 วิชา โอกาสทำคะแนนได้เพิ่มขึ้นก็เป็นสิบๆคะแนนแล้ว แบบนี้ไม่น้อยแล้วใช่มั้ยครับ   รายละเอียดเล็กๆน้อยๆพวกนี้แหละครับคนส่วนใหญ่มองข้าม ตอนฝึกทำโจทย์ที่บ้าน ลองดูครับ ฝึกไม่นาน 1-2 สัปดาห์ก็เริ่มคุ้นมือกันแล้ว เวลาจะแทนค่าในสูตร…

ตอนที่ 4 อย่าเสียเวลากับสิ่งที่โจทย์ไม่ได้ถาม

สมมติว่ามีเวลาในการสอบวิชาหนึ่ง 90 นาที ถ้าหักเวลาที่ต้องเขียนชื่อกับฝนกระดาษคำตอบไปราวๆ 5-10 นาที เวลาที่เหลือ 80-85 นาที ก็เอาไว้แก้โจทย์แต่ละข้อ เพื่อหาคำตอบให้ครบทุกข้อ มันควรจะเป็นแบบนี้ถูกไหมครับ แต่ความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้นครับ   เมื่อวิเคราะห์กระดาษทด ตรวจสอบดูเส้นทางการคิด พบว่านักเรียนจำนวนมากใช้เวลาเพื่อหาคำตอบตามที่โจทย์ถามกันเพียง 60-65 นาทีเท่านั้น เวลาอีก 15-20 นาที ถูกใช้ไปกับการคิดหาบางสิ่งที่โจทย์ไม่ได้ถามโดยไม่รู้ตัว (คิดเป็น 20-30% ของเวลาสอบเลยทีเดียว)   ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? ลองนึกถึงตอนทำข้อสอบกันดูครับ นอกจากความรู้ในเรื่องที่ออกสอบแล้ว มีอะไรอีกบ้างที่มีผลต่อคะแนนที่เราจะได้…   เงื่อนไขสำคัญคือเวลาที่จำกัดครับ แม้จะทำข้อสอบได้ทุกข้อ แต่ถ้าทำไม่ทันก็เสียคะแนน คะแนนจึงขึ้นกับสิ่งอื่นด้วย เช่น – ไหวพริบ (ทริคได้คะแนนฟรี ในตอนที่ 3) – การวางแผนทำข้อสอบ (กินลูกชิ้นก่อน ในตอนที่ 2) – การบริหารเวลา ที่เรากำลังจะพูดถึง   ตัวข้อสอบ ถ้ามองแบบผิวเผินจะเห็นว่ามีทั้งข้อง่าย ข้อยาก โจทย์สั้น…